วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Tense – การเติม s / es ท้ายคำกริยา

การเติม s ท้ายคำกริยาทำเมื่อใช้ในประโยคแบบ simple present tense ซึ่งแสดงความหมายในลักษณะเป็นสิ่งที่จริงแท้แน่นอนหรือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตร (คลิกที่คำศัพท์เพื่อฟังเสียงได้หลักการเติมมีดังนี้

1. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย s, ss, ch, sh, x, z ให้เติม es แล้วอ่านออกเสียง “อิส” หรือ “เอส” แบบสะกดเพิ่มเข้าไป 1 พยางค์ เช่น
คำไทย
คำกริยาปกติ
คำกริยาเติม s / es
จูบ
ดู (ทีวี / หนัง/อะไรก็ตามที่ใช้การดู)
ล้าง (อะไรก็ได้) ให้สะอาด
ใส่ (ของ) ลงกล่อง
ส่งเสียง (หึ่งแบบผึ้ง)
ฝึกซ้อม (ให้ชำนาญ)
ออกกำลัง (กาย/ความคิด/ทำแบบฝึกหัด)

โดยทั่วจะไม่พบคำกริยาที่ลงท้ายด้วย s เดี่ยว ๆ แต่มักพบ se หรือ ce มากกว่า s ตัวเดียว (มีเสียง s) จึงตัด e ออกแล้วเติม s

2. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย o ให้เติม es แต่ไม่ต้องอ่านออกเสียงแบบสะกดเพิ่มเข้าไป เช่น
คำไทย
คำกริยาปกติ
คำกริยาเติม s / es
ตัวอย่าง
ทำ (การบ้าน / อะไรก็ได้)
เขา (ผู้ชาย) ทำการบ้านทุกคืน
ไป
เขา (ผู้หญิง) ไปโรงเรียนทุกวัน

3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y

3.1 หน้า y เป็นพยัญชนะให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น
คำไทย
คำกริยาปกติ
คำกริยาเติม es
ตัวอย่าง
เรียน (หนังสือ)
หล่อนเรียนหนังสืออยู่ที่อเมริกา (ตอนนี้กำลังศึกษาเล่าเรียน)
ร้อง (ร้องไห้ / ร้องออกมา)
ทารกร้องให้ตอนเที่ยงคืน (เป็นกิจวัตร)
บิน
นกบินบนท้องฟ้า (เป็นธรรมชาติของมัน)

3.2 หน้า y เป็นสระ สระ (a, e, i, o, u) ให้ เติม s ได้ทันที เช่น

คำไทย
คำกริยาปกติ
คำกริยาเติม s
ตัวอย่าง
เล่น (ฟุตบอล / ดนตรี)
เด็กผู้ชาย (คนนั้นแหละ) เล่นกีตาร์ได้ดี (เก่ง/ไพเราะ เป็นปกติชีวิต)
ซื้อ
พ่อฉันซื้อของหลายอย่างจากร้านนี้ (ซื้อประจำ)
เดิน
นักเรียน (คนนั้นแหละ) เดินไปโรงเรียนทุกวัน

ถ้าไม่ค่อยเข้าใจ อย่าเพิ่งกลัว ดูเรื่องอื่น ๆ ประกอบไปเดี๋ยวก็เก็ท (get) เองครับ

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Tense - กาล (เวลา) คืออะไร

Tense เป็นโครงสร้างการใช้คำกริยาที่แสดงให้เห็นหรือทราบว่า การกระทำหรือเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อใด ความสำคัญของเรื่องนี้คือ คำศัพท์จะสื่อสารเรื่องราวหรือเหตุการณ์ให้สอดคล้องกับกาล (เวลา) ที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น (มันต่างกับภาษาไทยที่เราจะมีข้อความกำกับบอกว่ามันเกิดขึ้นเมื่อใดเสมอ)


Tense ชนิดต่าง ๆ
โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามกาล (เวลา) คือ
1. ปัจจุบัน (present tense)
2. อดีต (past)
3. อนาคต (future)

แต่ละกลุ่มยังแบ่งกริยา (อาการที่เกิด) เป็น 4 แบบ (จะว่าไป ก็รวมทั้งหมด 12 ชนิดนั่นแหละครับ) คือ
1. แบบง่าย ๆ (simple   tense) ไม่ต้องตีความมาก พอรู้เรื่อง
2. แบบต่อเนื่อง (continuous tense) แบบว่ากำลังกระทำอยู่ (เห็นอยู่ว่ากำลังทำ กำลังเกิดขึ้น)
3. แบบต่อเนื่องจากอดีต จวบจนถึงตอนนี้ (ที่กำลังเอ่ยถึงหรือพูด) โดยที่การกระทำนั้นสิ้นสุดลงแล้ว (perfect tense) หรือเรียกว่า ความสมบูรณ์ของการกระทำ (ประมาณว่า ทำมาแล้วอย่างต่อเนื่องและตอนนี้ ได้สิ้นสุดการการกระทำ)
4. แบบต่อเนื่องจากอดีต จวบจนถึงตอนนี้ (ที่กำลังเอ่ยถึงหรือพูดถึง) โดยที่การกระทำนั้นยังคงอยู่ให้เห็น ประมาณว่ายังต่อเนื่องต่อไปนับจากนี้ (perfect continuous tense)

ประเด็นสำคัญของ Tense 
ประเด็นหลักเลย ก็คือการใช้คำกริยาให้ถูกต้องนั่นแหละครับ หรือพูดง่าย ๆ คือ การผันคำกริยาในให้ถูกต้องตามกาลของกริยา  (การกระทำ) ที่เกิดนั่นแหละครับ ซึ่งก็มีหลักการผันคำกริยาอยู่
ก่อนจะไปลงรายละเอียด มาดูตัวอย่างให้พอเห็นภาพ

ตัวอย่าง 1
สมมติเราไปเที่ยวที่ไหนสักที่กับเพื่อน ๆ ระหว่างทางเราแวะเข้าห้องน้ำ แต่ปวดท้องนั่งนานไปหน่อย พรรคเลยเข้าไปในห้องน้ำเพื่อตามตัว

เราพูดว่า ฉัน (I) อยู่ (am) นี้ (here) คำกริยาในที่นี้คือ am (แปลว่า เป็น / อยู่ / คือ) มาดูวิธีพูด กริยาช่อง 2 ของคำนี้คือ was และช่อง 3 คือ been (3 คำนี้มีความหมายเดียวกันทุกประการ)
·         เพื่อนตะโกนถาม “มึงอยู่ไหน” เราตะโกนตอบ กูอยู่นี่ เราพูดว่า I am here.
·         เรานึกพิเรนทร์ อยากเขียนฝาห้องน้ำว่า เคยมานั่งอึในห้องนี้ เราเขียนว่า I was here.
·         เรานึกขึ้นได้ว่า เรานั่งอึแสนจะนานในห้องนี้ อยากย้ำเหลือเกินว่าเรานั่งนาน เราเขียนว่า I had been here.
ทั้ง 3 ประโยคมีความหมายเหมือนกันคือ ฉันอยู่นี่ แต่ต่างกันเรื่องเวลาที่อยู่ คือ
·         I am here. (อยู่ตอนที่กำลังตะโกน)
·         I was here. (เคยแวะเข้ามาอยู่ ตอนนี้ไม่อยู่แล้ว)
·         I had  been here. (เคยแวะเข้ามาอยู่แบบนั่งนานเลย ตอนนี้ไม่อยู่แล้ว)

ตัวอย่าง 2
สมมติว่า เราเป็นอาจารย์ ไปเอาตัวลูกศิษย์ที่สถานีตำรวจเพราะหนีเที่ยวห้างตอนบ่าย 2 ทั้ง ๆ ที่โรงเรียนยังไม่เลิก

เราจะพูดว่า นักเรียน (student) เรียนหนังสือ (study) ที่ห้องเรียน (class room) คำกริยาในที่นี้คือ study มาดูการพูดแต่ละเหตุการณ์ กริยาช่อง 2 และ 3 ของคำนี้คือ studied
·         เราเจอนักเรียนหนีเที่ยวห้างในเวลาเรียน เราสอนเขาว่า นักเรียน (ทั่วๆไป) เขาเรียนหนังสือในห้องเรียน (ไม่ใช่หนีมาเที่ยวห้าง) เราพูดว่า Student  studies in class room. (แบบ simple tense / เป็นกิจวัตรปกติที่ต้องเข้าห้องเรียน)
·         ตำรวจบอกว่า เห็นนักเรียน (คนที่กำลังโดนจับนี้) หนีเที่ยวเมื่อวานด้วยตอนบ่าย 2 แต่จับตัวไม่ทัน แต่เราเองเห็นเขากำลังเรียนหนังสือในห้องเรียนตอนนั้น เราบอกตำรวจว่า นักเรียน (คนนี้) กำลังเรียนหนังสืออยู่ในห้องเรียน เราพูดว่า The student was  studying in class room. (แบบ continuous tense / กำลังแสดงอาการให้เห็นเลยว่านั่งเรียนอยู่)
·         ตำรวจบอกว่า เราอาจจะจำช่วงเวลาผิด แต่เราเห็นเขาเรียนทั้งวัน เรายืนยันกับตำรวจว่า นักเรียน (คนเดียวกันนี้) เรียนหนังสืออยู่ในห้องเรียนทั้งวัน เราพูดว่า The student had studied in class room all day long. (แบบ perfect tense / นั่งเรียนตั้งแต่เช้าจรดเย็นแน่ๆ)
·         เราบอกนักเรียนว่า วันนี้เขาควรกำลังนั่งเรียนในห้องจนโรงเรียนเลิก เราพูดว่า You should have been studying in class room. (แบบ perfect continuous tense / ควรออกอาการให้เห็นว่า ต้องกำลังนั่งเรียนหนังสืออยู่จนกว่าจะเลิกเรียน)

ลายละเอียดจะเขียนกันต่อครับ เอาพอเห็นภาพคร่าว ๆ